วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี

สมเด็จพระพุทะยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
   ในปี พ.ศ.2324 ได้เกิดเหตุจลาจลครั้งใหญ่ในกรุงธนบุรี เหล่าขุนนาง และประชาชน ต่างก็ได้อันเชิญสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก กลับปราบดาภิเภษขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325
   ภายหลังจากพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว พระองค์มีพระราชกรณียกิจที่สำคัญก็คือ ฟื้นคืนความสงบของบ้านเมือง และการตั้งราชธานีใหม่ ให้มีความยิ่งใหญ่ ดั่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อให้เป็นศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักร แต่เนื่องจากกรุงธนบุรี ไม่เหมาะแก่การเป็นราชธานีอีกต่อไป
แผนที่ของกรุงธนบุรี
   เพราะกรุงธนบุรีมีพื้นที่คับแคบ มีวัดขนาบทั้ง 2 ข้าง แถมยังเป็นเมืองอกแตก ถูกข้าศึกโจมตีได้ง่าย และฝั่งตะวันตกของกรุงธนบุรีไม่มีปราการทางธรรมชาติ อย่างเช่น แม่น้ำ หรือคูคลองเลย อาจทำให้ข้าศึกเข้าประชิดเมืองได้ง่าย และกรุงธนบุรีเป้นเขตท้องคุ้งน้ำ เซาะตลิ่งพังได้ง่าย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี ไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่า "บางกอก" เป็นเขตชุมชนพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาค้าขายในเมืองไทย 
กรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช



พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเลือกทางฝั่งตะวันออกเป็นราชธานี เพราะว่า พื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเป็นบริเวณหัวแหลม และมีลำน้ำเจ้าพระยาเป็นปราการธรรมชาติ อีกทั้งพื้นที่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นที่ราบลุ่ม มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำเกษตกรรม ทำไร่ ทำนาและยังเป็นพื้นที่ว่างเปล่าสามารถวางผังเมืองได้ง่าย และมีทำเลใกล้ทะเล และเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถเดินทางติดต่อค้าขายได้สะดวก ส่งผลให้อาณาจักรไทยมีความั่งคั่ง และความเจริญรุ่งเรืองในเวลาต่อมา
   อนึ่งในยุคล่าอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก ทำเลที่ตั้งของประเทศไทยยังมีส่วนช่วยให้ไทยธำรงความเป็นรัฐอิสระเอาไว้ได้ เนื่องจากอังกฤษและฝรั่งเศส ไม่ประสงค์ที่จะทำสงครามเพื่อแย่งชิงอำนาจในการยึดครองประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยุ่กึ่งกลางระหว่างอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้อังกฤษกับฝรั่งเศสทำสนธิสัญญาทวิภาคีขึ้น เพื่อประกันความเป็นเอกราชของไทยเอาไว้
   
   

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์

ความหมายของประวัติศาสตร์
   พฤติกรรม หรือเรื่องราวบางเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีตที่เรารู้หรือเข้าใจ นั่นคือสิ่งที่นักประวัติศาสตร์สร้างขึ้นมาเกี่ยวกับอดีตที่ผ่านพ้นไป
    เหตุการณ์ในอดีตทั้งหมดของมนุษย์ หรืออดีตทั้งหมดของมนุษย์ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นมาในโลกจนถึงวินาทีที่พึ่งผ่านมา
เป้าหมายของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
   การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน
ความสำคัญของประวัติศาสตร์
1. ช่วยให้มนุษย์รู้จักตนเอง
2. ช่วยให้เกิดความเข้าใจในมรดก วัฒนธรรมของมนุษยชาติ
3. ช่วยเสิรมสร้างให้เกิดความระมัดระวัง การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อดทน สุขุมรอบคอบ
4. เป็นบทเรียน และประยุกต์ ใช้ในกระบวนการแก้ไขปัญหา และวิกฤตการณ์ต่างๆ
ลักษณะและประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
   หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ร่องรอยของสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์สร้างสรรค์ รวมทั้งร่องรอยของพฟติกรรมที่เกิดขึ้นในอดีตและเหลือตกค้างมาจนถึงปัจจุบัน
 หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หลักฐานที่เป็นสายลักษณ์อักษร 
    หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
   สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ
หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หลักฐานชั้นต้น (primary sources)

   คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ
2. หลักฐานชั้นรอง (secondary sources)

    ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
 หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น

   หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
2. หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง

    วิธีการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการ ศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้า หาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
   วิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ การกำหนดประเด็นการศึกษา การรวบรวมหลักฐาน การวิเคราะห์ การตีความ และการประเมินหลักฐาน การสรุปและเชื่อมโยงข้อเท็จจริง และการนำเสนอเรื่องราวที่ค้นพบได้อย่างสมเหตุสมผล
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดประเด็นการศึกษา
   เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวในอดีต ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การสืบค้นข้อมูลจากหลักฐานประเภทต่างๆ 
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมหลักฐาน
   เป็นการสืบค้นข้อมูลจากหลักฐานต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการศึกษาที่จะต้องสืบค้น วิธีการสืบค้นข้อมูลสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การสอบถาม การสัมภาษณ์ การศึกษาวิเคราะห์เอกสารหรือหนังสือ การไปชมสถานที่จริง การฟังคำบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์จากข้อมูลต่างๆ ฯลฯ
ขั้นตอนที่ 3 การวเคราะห์ การตีความและการประเมินหลักฐาน
   เมื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับประเด็นที่จะศึกษาแล้ว ผู้ศึกษาต้องวิเคราะ คิดไตร่ตรองหลักฐานแต่ละชิ้น เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับมากที่สุด ด้วยการประเมินภายนอกและภายใน
 - การประเมินภายนอก หมายถึง การประเมินผู้บันทึกหลักฐานและตัวหลักฐาน เนื่องจากหลักฐานมีหลายประเภท และหลายลักษณะ
   การประเมินผู้บันทึกหลักฐาน คือ การสืบค้นว่าผู้จัดทำหลักฐานคือใคร ขณะที่ทำหลักฐานนั้นมีสถานะใด มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นหรือไม่ มีจุดมุ่งหมายอย่างไรจึงจัดทำหลักฐานขึ้น มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นแค่ไหน ผู้จัดทำมีเจตนาปกป้องผลประโยชน์หรือมีอคติกับเรื่องนั้นหรือไม่
   การประเมินตัวหลักฐาน คือ การสืบค้นว่าตัวหลักฐานเป็นฉบับแท้ หรือฉบับคัดลอก หรือฉบับพิมพ์ขึ้นภายหลัง ผ่านการชำระแก้ไขหรือไม่ ใช้ภาษาหรือสำนวนตามยุคสมัยหรือไม่
แม้วาหลักฐานที่นำมาศึกษานั้นจะเป็นหลักฐานรอง หรือผู้จัดทำมีผลประโยชน์ร่วมกับเหตุการณ์นั้นก็ตาม เราก้สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ การประเมินภายนอกจะทำให้เรารู้จักหลักฐานนั้น และเป็นการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานก่อนนำไปใช้วิเคราะห์เรื่องราวในอดีต
- การประเมินภายใน หมายถึง การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ปรากฏในหลักฐานกับข้อมูลจากหลักฐานร่วมสมัยอื่นๆ ว่าสอดคล้องกันหรือแตกต่างกันหรือไม่
ขั้นตอนที่ 4 การสรุปและเชื่อมโยงข้อเท็จจริง
   เป็นขั้นตอนของการนำข้อเท็จจริงที่ผ่านการวิเคราะห์ การตีความ และการประเมินหลักฐานแต่ละชิ้นมาประมวลหรือเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง
ขั้นตอนที่ 5 การนำเสนอข้อเท็จจริง
   เมื่อสามารถสรุปสาเหตุและเหตุผลที่ทำให้เกิดเหตุการณืต่างๆ ในอดีต แล้วเรียบเรียงข้อเท็จจริงที่ค้นพบได้ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีความต่อเนื่องเป็นเหตุเป็นผลกัน และมีวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม


อ้างอิง
หนังสือประวัติศาสตร์ ชั้นม.3,สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด